วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

พระไตรปิฎกเเละพุทธศาสนสุภาษิต


      พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า
     ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง
     ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น
 ๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
 ๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป
 ๓. พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ...อ่านเพิ่มเติม
      

  หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

         พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา
          หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม
 หลักจริยธรรม
            ความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน...อ่านเพิ่มเติม

                                                     

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

     
       ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา

๑.วันมาฆบูชา
     มาฆบูชา เป็นชื่อของพิธีบูชา และการทำบุญในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ โดยปกติวันมาฆบูชาจะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ เราเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระธรรม”...อ่านเพิ่มเติม
                                    

 พุทธประวัติ

1 หลักการสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์ ที่สำคัญการสอนในลักษณะนี้ของพระองค์ เป็นการนำเนื้อหาที่มีอยู่มาทำการตีความ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำเข้าสู่หลักการที่ถูกต้อง ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาดังนี้
      1.สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่าย หรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่เห็นเข้าใจได้ยาก หรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ
     2.สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึก ยากลงไปตามลำดับขั้น และความต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป อย่างที่เรียกว่า สอนเป็นอนุบุพพิกถา..
     3.ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ ก็สอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียน ได้ดู ได้เห็น ได้ฟังเอง อย่างที่เรียกว่าประสบการณ์ตรง
     4.สอนตรง เนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง มีจุด ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา
     5. สอนมี เหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ อย่างที่เรียกว่า สนิทานํ
     6. สอนเท่า ที่จำเป็นพอดี สำหรับให้เกิดความเข้าใจ ให้เการเรียนรู้ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก
     7. สอนสิ่ง ที่มีความหมาย ควรที่เขาจะเรียนรู้ และเข้าใจ เป็นประโยชน์แก่ตัวเขาเอง อย่างพุทธพจน์ที่ว่า พระองค์ทรงมีพระเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย...อ่านเพิ่มเติม
                            
                                                 

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
 พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ
 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า    ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง 
 2. สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) สอนว่า  “ ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ  มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ 
 3. นิโรธ (วิธีการดับทุกข์) สอนว่า   มนุษย์มีศักยภาพในตัวเอง ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง 
 4. มรรค (แนวทางการปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์) สอนว่า การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา (ความรู้และความเพียรพยายาม)
อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่มีหลักการเป็นที่ยอมรับสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหลักสากลยอมรับทั่วไป...อ่านเพิ่มเติม

                                   

ลักษณะของสังคมชมพูทวีป และคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า

              เขตภาคกลาง เรียกว่า มัชฉิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นที่อยู่ของชนชาติอริยกะ หรืออารยัน แปลว่า ผู้เจริญเป็นดินแดนของชนผิวขาว

               เขตรอบนอก เรียกว่า ประจันตชนบทหรือประจันตประเทศ คือ ประเทศปลายเขตเป็นที่อยู่ของชนชาติมิลักขะ หรืออนารยชน เป็นดินแดนของชนพื้นเมือง


                ชมพูทวีป คืออาณาเขตที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาลในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลิกใช้ชื่อชมพูทวีปนี้แล้ว) ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีปนอกจากแบ่งเป็น 2 เขตดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเป็นแคว้นต่างๆ มีจำนวน 16 แคว้น แต่ละแคว้นที่มีความสำคัญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 6 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี แคว้นกาสี แคว้นสักกะ และแคว้นโกศล...อ่านเพิ่มเติม